วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner)


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของสกินเนอร์
          Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
          การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า
          ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
          ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐ อเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่อง มือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner)กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
           Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) -พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence) ซึ่งเขาเรียกย่อๆ
ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมาSkinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร
 ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง
ตารางการเสริมแรง
ลักษณะ
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous)
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่
แสดงพฤติกรรม
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้ว
เห็นภาพ
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่
แน่นอน (Fixed - Interval)
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
กำหนด
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำ
การทดสอบ
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
ไม่แน่นอน
(Variable - Interval)
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลา
ที่ไม่แน่นอน
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลา
ที่ต้องการ
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่แน่นอน
(Fixed - Ratio)
ให้การเสริมแรงโดยดูจาก
จำนวนครั้งของการตอบสนอง
ที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน
การจ่ายค่าแรงตามจำนวน
ครั้งที่ขายของได้
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน
(Variable - Ratio)
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน
การได้รับรางวัลจากเครื่อง
เล่นสล๊อตมาชีน
          สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ได้กำหนดการวางเงื่อนไขการกระทำ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในปัจจุบัน โดยวิธีการวางเงื่อนไขจะใช้การเสริมแรง โดยทดลองกับสัตว์ในห้องปฏิบัติการและค้นคว้าจนพบว่าใช้ได้ดีกับมนุษย์ 

หลักการวางเงื่อนไขผลกรรม (Operant Conditioning) มีแนวคิดว่า การกระทำใด ๆ (Operant) ย่อมก่อให้เกิดผลกรรม (Consequenceหรือ Effect) 

การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม

การเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมนี้ต้องการให้เกิดพฤติกรรมโดยใช้ผลกรรมเป็นตัวควบคุม ผลกรรมที่เกิดขึ้น
ถ้าเป็นผลกรรมที่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงบวก เรียก การเสริมแรง
ถ้าเป็นผลกรรมที่ไม่ต้องการ เป็นผลกรรมเชิงลบ เรียกว่า การลงโทษ
การเสริมแรง หมายถึง การทำให้มีพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากผลกรรม ได้แก่
เสริมแรงทางบวก เช่น ทำงานเสร็จแล้วแม่ให้ถูโทรทัศน์
เสริมแรงทางเชิงลบ เช่น การขึ้นสะพานลอยเพื่อพ้นจากการถูกจับ
การลงโทษ หมายถึง การให้ผลกรรมที่ไม่ต้องการ หรือ ถอดถอนสิ่งที่ต้องการแล้วทำให้พฤติกรรมลดลง ได้แก่
การลงโทษทางบวก เช่น เด็กส่งเสียงดัง แล้วถูกดุ
การลงโทษทางลบ เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จแล้วแม่ไม่ให้ไปเล่นเกมส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น