วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

รูปแบบการจัดการศึกษาของไทย


รูปแบบการจัดการศึกษาของไทย

รูปแบบการจัดการศึกษาของไทย แบ่งออกเป็น
3 รูปแบบ
          1.  การศึกษาในระบบ (Formal education)  เป็นการศึกษาที่ระบบแบบแผน วัตถุประสงค์ หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการที่แน่นอนโดยมีจุดประสงค์หลักที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถ
กระบวนการจัดการเรียนการสอน
การวัดผลและประเมินผล
          การศึกษาในระบบจะมีโครงสร้างเป็นลำดับขั้น แบ่งระดับการศึกษาตามอายุของผู้เรียน มีสถานที่เรียน หลักสูตรและเวลาเรียนที่แน่นอน มีการวัดผลและประเมินผลไปตามเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา มีการจัดการศึกษาในสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย  การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

         
2.  การศึกษานอกระบบ (Non – Formal education) เป็นการศึกษาที่จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของคนให้สามารถพัฒนาตนเอง รวมถึง พัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม โดยจะมีการจัดรูปแบบวิธีการเรียนการสอน การวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย วิธีการจัดการจึงมีความยืดหยุ่น ปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียน
การศึกษานอกระบบ

          3.  การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal education)
 เป็นกระบวนการศึกษาตลอดชีวิต ที่เกิดจาก การฝึกฝน ทักษะ ทัศนคติและเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเองจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยมีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
          3.1 การเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน เช่น การประกอบอาชีพต่าง ๆที่ต้องใช้เวลาสะสมจนเกิดความรู้และความชำนาญในด้านอาชีพนั้น ๆ
อาชีพประมง
          3.2 การศึกษาจากกระบวนการทางสังคม จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น วิทยุ  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
การอ่านหนังสือพิมพ์

การเล่นอินเตอร์เน็ต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น