วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Ivan Petrovich Pavlov


          
          พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข(Conditioning) กล่าวคือการตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันจะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย เช่น คนได้ยินเสียงไซเรน จะคิดถึงไฟไหม้ เป็นต้น เสียงไซเรน เป็นสิ่งเร้า พาฟลอฟเรียกว่า สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข(Conditioned stumulus) และการคิดถึงไฟไหม้ เป็นการตอบสนอง ที่เรียกว่าการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข(Conditioned response) ซึ่งเป็นพฤติกรรมแสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
พาฟลอฟ เป็นชาวรัสเซีย มีอายุอยู่ระหว่าง ค.ศ.1849 - 1936ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 87 ปี
การทดลองของพาฟลอฟ
          จุดเริ่มต้นของการทดลอง เกิดจากการที่พาฟลอฟสังเกตเห็นว่าสุนัขที่เขาเลี้ยงไว้มักมีอาการ น้ำลายไหลทุกครั้งที่เขาเอาผงเนื้อไปให้กินและบางครั้งเขาเดินมาสุนัขได้ยินเสียงเดินของเขา ก็จะมีอาการ น้ำลายไหลทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เห็นอาหาร ทำให้เขาคิดว่า อาการน้ำลายไหลของสุนัขนั้น น่าจะเป็นพฤติกรรม การเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่ต่อเนื่องกันระหว่างผงเนื้อกับเสียงคนเดิน เนื่องจากพาฟลอฟ เป็นนักสรีรวิทยา เขาจึงเห็นว่า อาการน้ำลายไหลเป็นปฏิกริยาสะท้อน (Reflex action) ที่เกิดจากการทำงานของระบบประสาท อัตโนมัตินั้น ก็เกิดเป็นปฏิกริยาการเรียนรู้อย่างหนึ่งได้เขาจึงเริ่มทดลอง โดยการผ่าตัดง่าย ๆ ข้างกระพุ้งแก้มของสุนัขเพื่อเปิดท่อของต่อมน้ำลายให้ กว้างออก และเจาะเป็นท่อไหลลงในภาชนะที่มีเครื่องหมายสำหรับตวงปริมาณของน้ำลายได้เขาตั้ง จุดประสงค์ไว้ว่า สุนัขต้องมีอาการน้ำลายไหลจากการได้ยินเสียงจากการเคาะส้อมเสียง (ตำราส่วนใหญ่ บอกว่าใช้เสียงกระดิ่ง แต่อีกสักครู่จะมีวิดีโอให้ดู ในวิดีโอ เขาใช้ส้อมเสียง ก็เกรงว่าจะขัดแย้งกัน ดังนั้น ขอให้เข้าใจว่ามีการส่งเสียง ก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัข ก็แล้วกัน)
การทดลองของพาฟลอฟ
          การทดลองแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนวางเงื่อนไข ขั้นวางเงื่อนไขและขั้นการเรียนรู้จากการ วางเงื่อนไข
ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ศึกษาภูมิหลังของสุนัขก่อนการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ว่าภูมิหลังหรือพฤติกรรมก่อนการเรียนรู้เป็นอย่างไร
เขาศึกษาพบว่า สุนัขจะแสดงอาการส่ายหัวและกระดิกหาง เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่จะแสดง อาการน้ำลายไหลเมื่อได้เห็นผงเนื้อบด ซึ่งแสดงได้ดังสมการ
เสียงกระดิ่ง (UCS)   ====  ส่ายหัวและกระดิกหาง (UCR)
ผงเนื้อบด (UCS)  ====  น้ำลายไหล (UCR)
จากการศึกษาภูมิหลังทำให้ทราบว่า พฤติกรรมก่อนการเรียนรู้ครั้งนี้ สุนัขไม่ได้แสดงอาการน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง จะต้องใช้ผงเนื้อบดเข้าช่วย โดยการจับคู่กันจึงทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้
ขั้นที่ 2 ขั้นวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ใส่กระบวนการเรียนรู้ โดยการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคเข้าไป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เขาได้สั่นกระดิ่ง (หรือเป็นการเคาะส้อมเสียง) ก่อน จากนั้นก็รีบพ่นผงเนื้อบด เข้าปากสุนัขในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็ว ทำอย่างนี้ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งเพื่อให้สุนัขเกิดการเรียนรู้ ซึ่งแสดงสมการได้ดังนี้
เสียงกระดิ่ง (CS) + ผงเนื้อบด (UCS)  ====  น้ำลายไหล (UCR)
ในการวางเงื่อนไขนี้ ใช้เสียงกระดิ่ง (หรือส้อมเสียง) เป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) และใช้ผงเนื้อบดเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS)และอาการน้ำลายไหลในขณะวางเงื่อนไขนี้ ยังอาจเป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCR) เพราะสุนัข อาจจะน้ำลายไหลจากผงเนื้อบดมากกว่าเสียงกระดิ่ง
ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทดสอบว่า สุนัขเรียนรู้หรือยัง ในวิธีการ
วางเงื่อนไขบบคลาสสิคนี้ โดยการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) ออก คือผงเนื้อบด ให้เหลือแต่เพียงสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) คือเสียงกระดิ่ง ถ้าสุนัขยังน้ำลายไหลอยู่ แสดงว่า สุนัข เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (CR) นั่นเอง ดังแสดงได้จากสมการ
เสียงกระดิ่ง (CS)  ====  น้ำลายไหล (CR)
จุดประสงค์ไว้ คือสามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งได้ ซึ่งเป็นการแแก้ข้อสงสัยที่ว่า ทำไมสุนัขจึงน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงฝีเท้าของคนให้อาหาร ทั้งนี้ก็เพราะสุนัข มีการตอบสนองเชื่อมโยง จากอาหารไปสู่เสียงฝีเท้า โดยที่อาหารเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) และเสียงฝีเท้าเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CCS) ซึ่งแสดงได้ดังสมการ
จากผลการทดลองนี้ เป็นข้อยืนยันให้เห็นจริงว่า การแสดงปฏิกริยาสะท้อนต่าง ๆนั้น อาจใช้ใน
การเรียนรู้ โดยวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้
ทฤษฎีการเรียนรู้
          1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
          2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
          3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
          4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
          5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
กฎแห่งการเรียนรู้
          1. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) คือ ความเข้มข้นของการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าอินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว หรือความ มีสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างออกไปมากขึ้น
          2. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery) คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฎขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ช่วย
          3. กฎแห่งสรุปกฏเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
          4. กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจาก สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัดหรือเสียงปืนจะไม่มีอาการน้ำลายไหล
          ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในมุมมองของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
          1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
          2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
          3. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
          4. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-dไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น