วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้


              จากขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้  จะเห็นได้ว่าการนำหลักสูตรไปใช้เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือบุคคลหลายฝ่ายหลายระดับซึ่งจะต้องประสานงานหรือร่วมมือกันในอันที่จะนำหลักสูตรไปให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแต่ละหน่วยงาน แต่ละฝ่ายแต่ละระดับมีส่วนในการนำหลักสูตรไปใช้ที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงบทบาทของหน่วยงานต่างๆ ในการนำหลักสูตรไปใช้ และบทบาทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
              6.บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
              หน่วยงานส่วนกลาง หมายถึง หน่วยงานหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ใช้ หน่วยงานส่วนกลางมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ 2 ลักษณะคือ การบริหาร การบริการหลักสูตรการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง
              หน่วยงานส่วนท้องถิ่น หมายถึงหน่วยงานหรือผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอน ซึ่งได้แก่โรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้หลักสูตรซึ่งสร้างโดยส่วนกลาง งานที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาจะต้องรับผิดชอบในการใช้หลักสูตรก็คืองานบริหารงานบริการหลักสูตร การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
              หน่วยงานทั้ง 2 ได้แบ่งลักษณะของการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
              1. หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทอย่างเต็มที่
              2. โรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่
              3. หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทส่วนใหญ่โดยได้รับความช่วยเหลือจากส่วนท้องถิ่น
              4. หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทส่วนใหญ่โดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง
              (จากรายงานการประชุมวิชาการเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
(APEDI, 1977))
              1. การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทอย่างเต็มที่ การใช้หลักสูตรในรูปนี้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทที่สำคัญดังนี้คือ
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              1. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
              2. เตรียมโปรแกรมและหลักสูตรชนิดต่างๆ
              3. ดำเนินการวิเคราะห์และผลของการใช้หลักสูตร
              4. พิจารณาอนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเรียนการสอน
              5. ดำเนินการวัดและดำเนินผลการปฏิบัติงานการใช้หลักสูตรของหน่วยงานระดับท้องถิ่น
              บทบาทหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
              ทำหน้าที่ให้ช่วยเหลือหน่วยงานส่วนกลางในเรื่องการติดตามผลการใช้หลักสูตร
              2. การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทอย่างเต็มที่ การใช้หลักสูตรแบบนี้หน่วยงานแต่ละระดับจะมีบทบาทที่สำคัญ
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              หน่วยงานส่วนกลาง ไม่มีบทบาทในการใช้หลักสูตรของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นแต่อย่างใด
              บทบาทของหน่วยงานของท้องถิ่น
              1. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
              2. พัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนและสร้างผู้นำทางวิชาการ
              3. วิเคราะห์และติดตามผลการใช้หลักสูตร
              4. ดำเนินการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเรียนการสอน
              3.  การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือการใช้หลักสูตรระบบนี้หน่วยงานในระดับผู้พัฒนาหลักสูตรและหน่วยงานท้องถิ่นจะมีบทบาทดังนี้
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              1. กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
              2. จัดโปรแกรมและวัสดุต่างๆ
              3. ดำเนินการวิเคราะห์และติดตามผล
              4. จัดหาผู้นำทางด้านความคิดมาช่วยในการใช้หลักสูตร
              5. สร้างบรรยากาศสนับสนุนการใช้วัตกรรมต่างๆ
              6. เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
              7. เผยแพร่ข่าวสารและแหล่งข้อมูลต่างๆ
              4.  ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญและหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน การใช้หลักสูตรในรูปแบบนี้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทแตกต่างกันดังนี้ คือ
              บทบาทของหน่วยงานส่วนกลาง
              1. กำหนดเป้าหมายของหลักสูตรและช่วยเหลือให้มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการศึกษาหน่วยต่างๆ
              2. ทำหน้าที่กระตุ้นให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
              3. สร้างบรรยากาศให้เกิดการสนับสนุนหน่วยงานท้องถิ่น
              4. ให้ความช่วยเหลือในด้านการเงินหรือวัสดุ
              5. เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
              บทบาทของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น
              1. ทำหน้าที่กำหนดจุดหมายของหลักสูตร
              2. พัฒนาวัสดุหลักสูตรเพื่อใช้โปรแกรมการเรียนการสอน
              3. สร้างผู้นำทางวิชาการ
              4. ดำเนินการวิเคราะห์และติดตามผลการใช้หลักสูตร
              5. สร้างวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงโปรแกรมการเรียนการสอน
              6. แสวงหาแนวทางและเสนอประสบการณ์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนสำหรบท้องถิ่น
              6.2 บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
              กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการพิจารนาถึงบทบาทของหน่วยงานส่วนกลางซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรกับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ใช้หลักสูตรว่า หน่วยงานทั้งสองแห่งมีบทบาทในการพัฒนาและการใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละรูปแบบ สำหรับหัวข้อนี้จะพิจารณาถึงบทบาทบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรว่า บุคคลในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ ควรจะมีบทบาทในการใช้หลักสูตรในลักษณะใดดังต่อไปนี้
                   1. ช่วยพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร และดำเนินการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร
                   2. ทำการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรในหน่วยงานที่ใช้หลักสูตร
                   3. ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการใช้หลักสูตรโดยการให้บริการวัสดุหลักสูตร และให้กำลังใจแก่ผู้นำหลักสูตรไปใช้
              1.  ผู้บริหารโรงเรียน ควรมีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้หลักสูตรดังนี้
                   1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่โรงเรียนใช้อยู่อย่างชัดเจน
                   2. ให้บริการวัสดุ และสื่อการเรียนการสอนชนิดต่างๆ แก่ครู
                   3. ดำเนินการนิเทศ และติดตามผลการใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
                   4. กระตุ้นและส่งเสริมครูในการใช้หลักสูตรอย่างถูกต้อง เช่น การจัดอบรบ หรือจัดประชุมสัมมนา เป็นต้น
                   5. ให้กำลังใจและบำรุงขวัญแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ครูคนอื่นๆ
              2.  หัวหน้าหมวดวิชาหรือหัวหน้าสาขาวิชา ควรจะดำเนินการส่งเสริมการใช้หลักสูตรดังต่อไปนี้
                   1. ศึกษารายระเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองรับผิดชอบอย่างชัดแจ้ง
                   2. ช่วยวางแผนและจัดทำแผนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่ตนเองรับผิดชอบ
                   3. จัดหาวัสดุหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนและให้บริการแก่ครูคนอื่นที่อยู่ภายในสายเดียวกัน
                   4. ดำเนินการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองสม่ำเสมอ
                   5. ประสานงานการใช้หลักสูตรกับหมวดวิชาอื่น หรือสายวิชาอื่นเพื่อให้การใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
              3.  ครูผู้สอน ในฐานะเป็นผู้ใช้หลักสูตรโดยตรงมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้การใช้หลักสูตรภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพดังนี้
                   1. ศึกษาหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ตนเองใช้อยู่อย่างกระจ่างชัด
                   2. ปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
                   3. สอนให้ถูกต้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่ใช้
                   4. พยายามคิดค้นหาวิธีการที่เหมาะสมหรือวิธีการที่มีประสิทธิภาพและนำมาใช้
                   5. บุคลากรอื่นๆ ภายในโรงเรียน นักเทคโนโลยีทางการศึกษา นักวัดผลและนักแนะแนว ฯลฯ ต่างก็มีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรโดยกระทำดังนี้
                        5.ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบอย่างเต็มที่
                        5.ให้ความช่วยเหลือหรือบริการแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรอย่างเต็มที่ ถ้าหากบุคลากรทุกผ่ายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ ก็พอคาดการณ์ได้ว่าใช้หลักสูตรจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุดอันจะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้มากที่สุด

ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้


              จากลักษณะงานและกิจกรรมของการนำหลักสูตรไปใช้ดังกล่าวสามารถสรุปขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
              1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
              2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
              3. ขั้นติดตามและประเมินผล     
              5.ขั้นเตรียมการใช้หลักสูตร
              ในการเตรียมการใช้หลักสูตรเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะการนำเอาหลักสูตรใหม่เข้ามาแทนที่หลักสูตรเดิมจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ต่อเมื่อได้มีการเตรียมการเป็นอย่างดีนับแต่การตรวจสอบทบทวนหลักสูตรตามหลักการทฤษฎีของหลักสูตร การทำโครงการและวางแผนการศึกษานำร่องเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรหรือการทดลองใช้หลักสูตรการประเมินโครงการศึกษาทดลอง การประชาสัมพันธ์หลักสูตรและการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตร
              1.การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
              จุดประสงค์ของการตรวจสอบหรือทบทวนหลักสูตรเพื่อต้องการทราบว่าหลักสูตรที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อศึกษาหาวิธีการที่จะนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติได้จริงตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร รวมทั้งศึกษาองค์ประกอบ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรและบริบททางสังคมอื่นๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
              การตรวจสอบลักษณะหลักสูตรเพื่อดูความชัดเจนของหลักสูตร ซึ่งได้แก่ ความกระจ่างชัดของคำชี้แจง คำอธิบายสาระสำคัญแนะปฏิบัติต่างๆ ของหลักสูตร นอกจากนั้น จะดูความสอดคล้องขององค์ประกอบหลักสูตร ได้แก่จุดประสงค์การเรียน เนื้อหาสาระ กิจกรรมประสบการณ์การเรียน และการประเมินผลมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด มีความเหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่ รวมทั้งความหวังของสังคมได้สะท้อนเข้ามาอยู่ในส่วนใดของตัวหลักสูตร ความซับซ้อนของเนื้อหามีมากน้อยเพียงใด สิ่งสำคัญอีกประการณ์หนึ่งคือรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏในหลักสูตรนั้นสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้จริงตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ รวมทั้งบุคลากรและสิ่งอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอน ผู้บริหาร งบประมาณ การบริหารสนับสนุนการใช้หลักสูตรได้ตามจุดประสงค์
              คณะบุคคลที่ทำการตรวจสอบหลักสูตร ได้แก่คณะกรรมการยกร่างหลักสูตรผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผู้เรียนและผู้ปกครอง ซึ่งควรจะได้มีบทบาทในการประชุมสัมมนาเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตร เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน เห็นคุณค่า เกิดการยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อหลักสูตรซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการจะนำหลักสูตรไปใช้ต่อไป
              2. การวางแผนและทำโครงการศึกษานำร่อง
              การวางแผนและทำโครงการศึกษานำร่องเป็นสิ่งที่จำเป็นจะตรวจสอบคุณภาพความเป็นไปได้ของหลักสูตรก่อนที่จะนำไปใช้ปฏิบัติจริง วิธีการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติประการแรกคือเลือกตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะทำการใช้หลักสูตร จากนั้นแปลงหลักสูตรสู่กระบวนการเรียนการสอน พัฒนาวัสดุหลักสูตร เตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในการใช้หลักสูตร จัดหาแหล่งบริการที่สนับสนุนการใช้หลักสูตร งบประมาณ จัดสิ่งแวดล้อมที่จะสนับสนุนการสอนติดตามผลการทดลองทั้งระยะสั้นและ   ระยะยาว รวมทั้งศึกษาระบบการบริหารของโรงเรียนในปัจจุบันว่าระบบหลักสูตรจะเข้าไปปรับใช้ให้เข้ากับระบบบริหารที่มีอยู่เดิมให้ผสมผสานกันได้อย่างไร โดยไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเดิม
              3. การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
              การประเมินโครงการศึกษานำร่องอาจจะกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การประเมินผลการเรียนจากผู้เรียน โดยการประเมินแบบย่อย และการประเมินรวมยอด การประเมินหลักสูตรหรือการประเมินทั้งระบบการใช้หลักสูตร และปรับแก้จากข้อค้นพบ โดยประชุมสัมมนากับผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร เพื่อนำความคิดเห็นบางส่วนมาปรับปรุงหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
              4. การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
              การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามย่อมมีผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเสมอ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ผู้บริหารการศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัดและอำเภอ ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่ ครูผู้สอน ซึ่งจะต้องได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้นมากบ้างน้อยบ้างตามแต่กรณี ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะหลักสูตรเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ หลายอย่างไม่เฉพาะเรื่องการเรียนการสอนเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวพันไปถึงวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสถานที่ และงบประมาณค่าใช้จ่าย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งจะต้องปรับตัวแก้ไขวิธีการทำงานและปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้การใช้หลักสูตรผลสำเร็จตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้ ด้วยเหตุนี้เขาเหล่านั้นจึงจำต้องทราบว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น อันที่จริงการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่ว่าจะมาเริ่มตอนจัดทำหลักสูตรต้นแบบเสร็จแล้ว  แต่ควรเริ่มต้นตั้งแต่มีแผนการที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรโดยให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบเป็นระยะๆ ว่า ได้มีการดำเนินการไปแล้วแค่ไหนเพียงใด
              การประชาสัมพันธ์อาจได้หลายรูปแบบ เช่น การออกเอกสารสิ่งพิมพ์ การใช้สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น นอกจากนี้การประชุมและการประชุมและการสัมมนากี่ครั้งเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรให้ผู้เกี่ยวข้องทราบก็คือสิ่งสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นคืออะไร จะมีประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องอย่างไร และจะมีผลต่อบทบาท
              5. การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
              การอบรมผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรต้องคำนึงและต้องกระทำอย่างรอบคอบ  นับแต่ขั้นเตรียมการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นที่นำมาใช้ในการวางแผน และวิธีการฝึกบุคลากร  เช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการใช้หลักสูตรซึ่งจะมีความแตกต่างของความพร้อมของใช้หลักโรงเรียนในตัวเมืองขนาดใหญ่ย่อมมีความพร้อมหลายๆ ด้านมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็กในชนบท และบุคลากรฝ่ายต่างๆ เช่น ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู กลุ่มผู้สนับสนุน รวมทั้งผู้ปกครอง วิธีการอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมและงบประมาณที่ใช้ในแผนนี้
              วิธีการฝึกอบรมจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายของการใช้หลักสูตร เช่น ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการอบรมจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับนโยบาย เจตนารมณ์ของหลักสูตรการจัดงบประมาณและบริการสนับสนุนการใช้หลักสูตรและการสอน วิธีการที่ใช้ส่วนมากจะเป็นการประชุมชี้แจงสาระสำคัญและ แนวทางการปฏิบัติ เป็นต้น วิธีการที่ใช้ส่วนมากจะเป็นมุ่งเน้นการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพราะการที่จะเข้าใจหลักสูตรจนสามารถปฏิบัติการสอนได้นั้นต้องลงมือฝึกปฏิบัติจริงครูจึงจะเห็นภาพรวมและเกิดความมั่นใจในการสอน วิธีการฝึกอบรมแบบนี้จะสิ้นเปลืองงบประมาณและต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร ดังนั้นทรัพยากรต่างๆ การเตรียมวัสดุสำหรับการฝึกอบรม จะต้องมีการวางแผนอย่างดีเพื่อไม่ให้ครูเกิดความสับสนและไม่แน่ใจซึ่งเป็นเหตุการณ์ไม่ยอมรับหลักสูตรใหม่ตามมา นอกจากนั้นครูให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ทราบผลของการฝึกอบรมปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยให้ผู้อบรมได้มีส่วนวางแผนการแก้ปัญหา และตัดสินใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผลของการพัฒนาหลักสูตรดำเนินไปสู่การปฏิวัติจริงได้มากขึ้น
              5.ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
              การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน การใช้หลักสูตรจะมีงานหลัก            3 ลักษณะ คือ
              1. การบริหารและบริการหลักสูตร
              2. การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
              3. การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
              1. การบริหารและบริการหลักสูตร หน่วยงานบริการหลักสูตรส่วนกลางของคณะพัฒนาหลักสูตรจะมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเตรียมบุคลากรเพื่อใช้หลักสูตรและการบริหารและบริการหลักสูตร ส่วนงานบริหารและบริการหลักสูตรในระดับท้องถิ่นซึ่งได้แก่โรงเรียนก็จะเกี่ยวข้องกับการจัดบุคลากรเข้าสอนตามความถนัดและความเหมาะสม การบริหารและการบริการหลักสูตรในโรงเรียนได้แก่
                   1.การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การจัดครูเข้าสอน หมายถึง การจัดและดำเนินการเกี่ยวกับการสรรหาและกลวิธีการใช้บุคลากรอย่างเหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและประสบการณ์ รวมทั้งสามารถพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อการงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    การจัดครูเข้าสอนโดยหลักสูตรทั่วไปจะเป็นงานของหัวหน้าสถานศึกษาแต่ละแห่ง การรับครูเข้าสอนจำเป็นต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และประสบการณ์ตลอดจนความสมัครใจของครูแต่ละคนด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรแต่ละคนมีโอกาสได้ใช้ศักยภาพของตนให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้หลักสูตรให้มากที่สุด
                   1.บริการพัสดุหลักสูตร วัสดุหลักสูตรที่กล่าวถึงนี้ได้แก่ เอกสารหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนทุกชนิดที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ความสะดวก และช่วยเหลือครูให้สามารถใช้หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง งานบริการหลักสูตรจึงเป็นภารกิจของหน่วยงานส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลางซึ่งผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องดำเนินการบริหารและบริการสื่อหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ถึงมือผู้ใช้ในโรงเรียนแต่ละแห่งอย่างครบถ้วนและทันกำหนด
                   1.การบริหารหลักสูตรภายในโรงเรียน การจัดบริการหลักสูตรภายในโรงเรียนได้แก่ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ใช้หลักสูตร เช่น การบริหารห้องสอนวิชาเฉพาะบริการเกี่ยวกับห้องสมุด สื่อการเรียนการสอน บริการเกี่ยวกับเครื่องมือในการวัดผลและประเมินผลและการแนะแนว เป็นต้น ผู้บริหารโรงเรียนควรอำนวยความสะดวกในการจัดทำหรือจัดหาแหล่งวิชาการต่างๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายนอกโรงเรียนอีกด้วย

              2. การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
                   2.การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น เนื่องจากหลักสูตรที่ร่างขึ้นมาเพื่อใช้กับประชากรโดยส่วนรวมในพื้นที่กว้างขวางทั่วประเทศนั้น มักจะไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพของสังคมในท้องถิ่น และสามารถสนองความต้องการของผู้เรียน ควรจะได้มีการปรับหลักสูตรกลางให้มีความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นที่ใช้หลักสูตรนั้นๆ
                   2.การจัดทำแผนการสอนอการจัดทำแผนการสอนเป็นการขยายรายละเอียดของหลักสูตรให้ไปสู่ภาคปฏิบัติโดยการกำหนดกิจกรรมและเวลาไว้อย่างชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ แผนการสอนควรจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                        1. แผนการสอนระยะยาว จัดทำเป็นรายภาคหรือรายปี
                        2. แผนการสอนระยะสั้น นำแผนการสอนระยะยาวมาขยายเป็นรายละเอียดสำหรับการสอนในแต่ละครั้ง
                        1. วางเป็นแนวทางในการสอน ซึ่งจะช่วยให้ความสะดวกแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรสามารถดำเนินการสอนให้ได้ตามความมุ่งหมายของหลักสูตร
                        2. ให้ความสะดวกแก่ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ ในการช่วยเหลือแนะนำและติดตามผลการเรียนการสอน
                        3. เป็นแนวทางในการสร้างข้อทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อให้มีการ   ครอบคลุมกับเนื้อหาสาระที่ได้สอนไปแล้ว
                   จะเห็นได้ว่าแผนการสอนจะเป็นแนวทางในการใช้หลักสูตรของครู ถ้าหากไม่มีการจัดทำแผนการสอน การใช้หลักสูตรก็จะเป็นไปอย่างไม่มีจุดหมายทำให้เสียเวลาหรือมีข้อบกพร่องในการใช้หลักสูตรเป็นอย่างมากอันจะส่งผลให้การบริหารหลักสูตรเกิดความล้มเหลว
                   2.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีนักปราชญ์ทางด้างหลักสูตรหลายคนได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนชนิดต่างๆ ที่จัดโดยโรงเรียน ดังนั้นจึงถือว่า กิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งจัดขึ้นโดยครูเพื่อให้สนองต่อเจตนารมณ์ของหลักสูตรจึงเป็นส่วนของการนำหลักสูตรไปสู่ภาคปฏิบัติโดยแท้จริง
                   ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องเริ่มจากการพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจจะทำได้หลายๆชนิด ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปอย่างมากในเรื่องการใช้เวลา การใช้แรงงาน การใช้ทรัพยากร ตลอดจนการใช้งบประมาณ โดยเหตุนี้ครูผู้สอนในฐานะเป็นผู้จัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนควรพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมที่เห็นว่าจะก่อให้เกิดความรู้ หรือประสบการณ์ และสามารถทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ง่ายที่สุด เร็วที่สุด ประหยัดเวลาที่สุด ประหยัดแรงงานและค่าใช่จ่ายมากที่สุด การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง อาจจะเลือกใช้เฉพาะกิจกรรมที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดเพียง 1-กิจกรรม ก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นจะต้องทำทุกๆ กิจกรรมเพราะการทำเช่นนี้นั้นนอกจากไม่เป็นการประหยัดด้วยประการทั้งปวงแล้วอาจจะก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายอีกด้วย
                   2.การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ในการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีขั้นตอนหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ คือ การวัดและประเมินผล เพราะการวัดและประเมินผลจะได้ข้อมูลย้อนกลับที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าในการเรียนรู้ว่าบรรลุตามจุดประสงค์ของการสอนและความมุ่งหมายของหลักสูตรหรือไม่ การวัดและประเมินผลการศึกษาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพของนักการศึกษาในระดับการศึกษาต่างๆ เพราะผลจากการวัดจะเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจของครูและนักการศึกษาเพื่อใช้ปรับปรุงวิธีการสอน การแนะแนว การประเมินหลักสูตรแบบเรียนการใช้อุปกรณ์การสอนตลอดจนการจัดระบบบริหารทั่วไปของโรงเรียน และนอกจากนี้ยังไม่ช่วยปรับปรุงการเรียนของนักเรียนให้เรียนถูกวิธียิ่งขึ้น เช่น ผลการสอบของนักเรียนที่ไม่ดี ไม่เพียงแต่แสดงความอ่อนของนักเรียนแต่ละคนเท่านั้น เพราะถ้าพิจารณาผลการสอบรวมทั้งโรงเรียนก็จะแสดงถึงความบกพร่องในการสอนไม่ดีของครูด้วย และถ้าพิจารณาผลการสอบรวมทั้งโรงเรียนก็จะแสดงถึงความบกพร่องในด้านการบริหารโรงเรียนของครูใหญ่ และคณะผู้บริหาร ยิ่งกว่านั้นถ้าเราพิจารณาผลสอบรวมทั้งประเทศอีกด้วย ดังนั้น การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนจึงนับว่ามีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา
                   การวัดและประเมินผลเป็นส่วนที่จะใช้พิจารณาตัดสินว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของการสอนตามที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด การวัดและประเมินผลจึงเป็นกระบวนการต่อเนื่องสัมพันธ์กับกระบวนการการเรียนการสอนซึ่งจำเป็นต้องจัดให้เป็นระบบที่ชัดเจนเหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเรียนการสอน อันเป็นส่วนสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้
              3.  การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
                   3.การจัดงบประมาณเพื่อการเรียนการสอนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญมากสำหรับสถานศึกษาทุกระดับ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประจำปีการศึกษาหนึ่งๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงและยังประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเงินของโรงเรียนจะต้องมีสมรรถภาพในการจัดงบประมาณของโรงเรียนได้ดี ไม่มีผิดพลาด จึงจะสามารถจัดงบประมาณของโรงเรียนให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มวิชาได้เป็นอย่างดี
                   3.การใช้อาคารสถานที่ เป็นสิ่งสนับสนุนการใช้หลักสูตรซึ่งผู้บริหารการศึกษา               พึงตระหนักอยู่เสมอว่า อาคารสถานที่ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในสถานศึกษาย่อมเป็นส่วนประกอบสำคัญต่อการเรียนการสอน และการอบรมบ่มเพราะนิสัยแก่ผู้เรียนได้ทั้งสิ้นแต่เนื่องจากสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจมีปริมาณและคุณภาพของอาคารสถานที่แตกต่างกัน ฉะนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องวางโครงการและแผนการใช้อาคารสถานที่ทุกแห่งให้เหมาะสม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ โดยจะต้องสำรวจศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ แล้วจึงวางแผนว่าควรดำเนินการอย่างไรจึงจะบรรลุตามเจตนารมณ์ หรืออุดมการณ์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้
                   3.การอบรมเพิ่มเติมระหว่างการใช้หลักสูตร ขณะที่ดำเนินการใช้หลักสูตรจะต้องศึกษาปัญหาและปรับแก้สิ่งต่างๆ ให้เข้ากับสภาพจริงและความเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งนี้โดยไม่ให้เสียหลักการใหญ่ของหลักสูตรสิ่งที่ครูต้องการมากที่สุดคือการฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อสร้างความพร้อมในการสอนของครูให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น การฝึกอบรมจะกระทำจากการวิเคราะห์ส่วนที่ขาดในบทบาทหน้าที่ของครู เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอน
                   3.การจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรภารกิจเกี่ยวกับ         การจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนกลางซึ่งเป็นผู้พัฒนาหลักสูตร หน่วยงานนี้ควรหาทางสนับสนุนและส่งเสริมหน่วยงานผู้ใช้หลักสูตรให้สามารถดำเนินการใช้หลักสูตรด้วยความมั่นใจ การจัดตั้งศูนย์วิชาการ อาจจะทำในลักษณะของศูนย์ให้บริการแนะนำช่วยเหลือ หรือจัดตั้งโรงเรียนตัวอย่าง หรือดังที่กรมวิชาการได้จัดตั้ง “โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร” ที่ศูนย์พัฒนาหลักสูตรก็ได้ โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรที่กรมวิชาการจัดตั้งขึ้น จะเป็นโรงเรียนที่สามารถดำเนินการใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพในลักษณะใดลักษณะหนึ่งซึ่งพอจะเป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ได้ วิธีการเช่นนี้จะเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนผู้ใช้หลักสูตรได้มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาประสิทธิภาพในการใช้หลักสูตรในโรงเรียนของตน และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้หลักสูตรระหว่างโรงเรียนต่างๆ ด้วย
              5.ขั้นติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
                   1.การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน การนิเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในหน่วยงานทุกแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศึกษา เพื่อเป็นการช่วยปรับปรุงการเรียนการสอน สงัด อุทรานันท์  (2532 : 268-269) กล่าวว่า การนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตรในระหว่างการใช้หลักสูตรนั้น หน่วยงานส่วนกลางในฐานะผู้พัฒนาหลักสูตรควรจัดส่งเสริมเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรเพิ่มเติม และติดตามผลการใช้หลักสูตรในโรงเรียนว่าได้ดำเนินการด้วยความถูกต้องหรือไม่ มีปัญหาใดเกิดขึ้นหรือไม่หากไม่มีปัญหาก็จะได้แก้ไขให้ลุล่วงไปสำหรับหน่วยงานในระดับท้องถิ่นอาจดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือแก่ครูผู้ใช้หลักสูตรให้ดำเนินการใช้หลักสูตรอย่างถูกต้อง
                   การนิเทศการใช้หลักสูตรหรือนิเทศการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญของการนิเทศ คือ การให้คำแนะนำช่วยเหลือไม่ใช่การตรวจสอบเพื่อจับผิดแต่ประการใด โดยลักษณะเช่นนี้  ผู้นิเทศจำเป็นจะต้องสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับผู้รับการนิเทศ การดำเนินการนิเทศจะต้องดำเนินไปด้วยบรรยากาศแห่งความเป็นประชาธิปไตยและร่วมมือกัน
                   2.การติดตามและการประเมินผลการใช้หลักสูตร จะต้องมีการวางแผนไว้ให้ชัดเจนว่าจะทำการประเมินส่วนใดของหลักสูตร ถ้าการวางแผนเกี่ยวกับการประเมินไม่ชัดเจนเมื่อมีความต้องการจะทำการประเมินในหัวข้อนั้นหรือส่วนนั้น บางครั้งอาจจะกระทำไม่ได้ต่อเนื่อง ดังนั้น การวางแผนเพื่อการประเมินหลักสูตรจะต้องชัดเจน และจะต้องใช้วิธีการประเมินอย่างไรจึงจะได้ผลเป็นภาพรวมที่สามารถนำมาอธิบายได้ว่า สิ่งใดเป็นบรรยากาศ หรือสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเท่าที่ดำเนินการใช้หลักสูตรไปแล้วบรรลุถึงสิ่งที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด สามารถตอบสนองความมุ่งหมายหลักที่กำหนดไว้หรือไม่ การประเมินหลักสูตรว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การออกแบบประเมินที่กว้างและลึก คือการมองภาพรวมทั้งหมดของการใช้หลักสูตรการหาตัวบ่งชี้สำคัญๆ นั้นจะต้องระมัดระวังเรื่องตัวแปรทางด้านวัฒนธรรมสังคมและทางเศรษฐกิจด้วยเพราะบางอย่างผู้ประเมินอาจจะมองข้ามไป เช่น โรงเรียนขนาดใหญ่ย่อมได้เปรียบกว่าโรงเรียนขนาดเล็กองค์ประกอบที่ตั้งของโรงเรียน ถ้าชุมชนให้ความสนับสนุนอย่างดีก็มีผลต่อการใช้หลักสูตร หรือโรงเรียนเล็กมากเกินไป เช่น มีนักเรียน 40-50 คน มีครู 2-3คนบางครั้งอาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถที่จะพัฒนาได้มากเท่าที่ควรหลักการจะร่างให้ดี สมบูรณ์สักเท่าใดก็ตามการนำหลักสูตรไปใช้ก็ควรจะพิจาณาให้รอบคอบ ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีระบบกลุ่มโรงเรียนช่วยเหลือก็ตาม บริบททางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่มาช่วยเสริมให้สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่าเหตุใดการนำหลักสูตรไปใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล เพราะมีปัจจัยแทรกซ้อนทางเศรษฐกิจ สังคมและค่านิยมของบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยข้อพิจารณาในการประเมินหลักสูตร
              กระบวนการในการประเมินผลเพื่อควบคุมภาพของหลักสูตร ในแง่ของการปฏิบัติการกระบวนการของการประเมินผลเพื่อควบคุมคุณภาพของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ การตรวจสอบหาประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร การตรวจสอบหาสาเหตุของความตกต่ำของคุณภาพ และการนำวิธีการต่างๆ มาแก้ไขพร้อมทั้งตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการเหล่านั้น รายละเอียดของแต่ละขั้นตอน มีดังนี้
                   1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร วิธีการตรวจสอบเริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน (Basic Data) เพื่อใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลระหว่างการดำเนินการ ข้อมูลพื้นฐานนี้ควรเก็บรวบรวมในระหว่างที่นำหลักสูตรไปทดลองในภาคสนาม ควรเก็บให้ได้มากและหลากหลาย เราจะสรุปว่าคุณภาพของหลักสูตรต่ำลงก็ต่อเมื่อข้อมูลผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆ ที่รวบรวมได้หลังจากการทดลองใช้ในภาคสนาม มีค่าต่ำกว่าข้อมูลที่รวบรวมได้จากการทดลองใช้ในภาคสนาม อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงระมัดระวังก็คือ ในการเก็บข้อมูลทั้งสองครั้งนั้นจะกระทำในสภาพที่ใกล้เคียงกันที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะนำข้อมูลทั้งสองครั้งมาเปรียบเทียบกันไม่ได้
                   สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลหลังจากการนำเอาหลักสูตรมาใช้ในระยะเวลาหนึ่งแล้ว มีข้อมูลที่ควรรวบรวม 3รายการ คือ ผลการทดสอบขั้นสุดท้าย  (ผลการสอบปลายปี) ผลการสอบแต่ละวิชาในแต่ละภาคเรียนและข้อมูลจากพฤติกรรมของเรียนและจากการเครื่องมือวัด เช่น แบบทดสอบความสนใจและเจตคติ นอกจาก 3 รายการนี้เราอาจเก็บข้อมูลอื่นที่มีผลพาดพิงถึงคุณภาพของหลักสูตรด้วยก็ได้ เช่น สถิติการยืมหนังสือของห้องสมุดการเลือกเรียนวิชาที่ไม่ได้บังคับ และบันทึกเรื่องราวการกระทำต่างๆ ของผู้เรียน เป็นต้น
                   2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ งานนี้เริ่มขึ้นเมื่อได้มีการพบแล้วว่าคุณภาพของหลักสูตรตกต่ำลง มีสมมุติฐานหลายเรื่องที่อาจนำมาใช้ในการค้นหาสาเหตุที่สำคัญคือ
                        2.ความล้มเหลวในการใช้หลักสูตร การที่จะใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิผลในทุกสภาพย่อมเป็นไปไม่ได้ หลักสูตรแต่ละหลักสูตรย่อมมีจุดหมายที่แตกต่างกัน และการที่บรรลุจุดหมายก็ต่อเมื่อได้มีการใช้หลักสูตรในสภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสมเท่านั้นดังนั้น สิ่งแรกที่พึงกระทำในการตรวจสอบหาสาเหตุก็คือ ตรวจสอบดูว่าได้มีการนำหลักสูตรมาใช่อย่างไร ผู้สอนใช้วิธีการสอน ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนถูกต้องหรือไม่ ฯลฯ ข้อมูลที่รวบรวมได้นี้ จะช่วยให้ตรวจสอบได้ว่าสาเหตุของการตกต่ำของคุณภาพเกิดจากอะไร
                        2.ความเปลี่ยนแปลงของสภาพและเงื่อนไขในเวลาที่นำหลักสูตรไปใช้ สภาพภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่นำหลักสูตรไปใช้ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทักเวลา ตัวอย่างเช่น ในตอนที่ทำการทดลองใช้ในภาคสนามขวัญและกำลังใจของผู้สอนดีมาก แต่ตอนที่เอาหลักสูตรไปใช้จริงๆ กลับลดต่ำลง และถ้าสภาพแบบอย่างอื่นๆ ยังคงเหมือนเดิมเราก็อาจสรุปได้ว่าความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ในด้านต่างๆ ของผู้เรียนในตอนแรกและตอนหลังย่อมมีสาเหตุจากความเปลี่ยนแปลงด้านขวัญและกำลังใจนั่นเอง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติสิ่งที่มีผลกระทบต่อคุณภาพไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว ลักษณะเดียว หรือรูปแบบเดียว ดังนั้น การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดหลายๆ ด้าน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องกระทำเพื่อตรวจสอบดูว่าข้อมูลที่แตกต่างกันมากนั้น เป็นข้อมูลด้านใด ความกระตือรือร้นในการทำงาน ความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อหลักสูตรความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนในการใช้หลักสูตรใหม่ ความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของหลักสูตรรวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ได้แก่ที่ตั้งของโรงเรียน  (อยู่ในเมือง ชนบท อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล ฯลฯ) ขนาดของชั้นเรียนความสมบูรณ์ของวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สื่อการเรียนการสอนและความร่วมมือของชุมชน
                        2.ความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้อาจเป็นไปได้ว่าลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองภาคสนามกับที่นำหลักสูตรมาใช้จริงมีความแตกต่างกันมาก เช่น ในด้านระดับความรู้ความสามารถ เจตคติ และค่านิยมที่มีต่อการเรียนในกรณีดังกล่าว ประสิทธิผลของหลักสูตรย่อมเปลี่ยนแปลงไป การแก้ไขปัญหาทำได้โดยการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อควบคุมคุณภาพให้ใกล้เคียงกัน
                        2.วิธีการวิเคราะห์ผลการทดสอบ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าการทดสอบหรือการประเมินผลนั้นมีทั้งการทดสอบระหว่างการดำเนินการ หรือการทดสอบย่อย (Formative Evaluation) และการทดสอบขั้นสุดท้าย หรือการทดสอบรวม (Summative Evaluation) การทดสอบรวมเป็นการทดสอบที่บอกให้เราทราบว่าหลักสูตรดีขึ้นหรือเสื่อมคุณภาพลง แต่ไม่สามารถชี้แจงเจาะจงลงไปว่าปัญหาอยู่ที่ตรงไหนเพราะเหตุใด ในทางตรงข้ามการทดสอบระหว่างดำเนินการหรือการทดสอบย่อย ซึ่งใช้ในการวินิจฉัยจุดอ่อนของผู้เรียนสามารถช่วยให้เราทราบว่าหลักสูตรมีจุดอ่อนในเรื่องอะไร และเป็นเพราะเหตุใด ด้วยเหตุนี้เราจึงใช้การทดสอบย่อยเป็นเครื่องชี้ถึงสาเหตุการตกต่ำของหลักสูตร
                   วิธีวิเคราะห์การทดสอบย่อยมีหลายวิธี วิธีแรกก็คือการเปรียบเทียบของการสอบในภาคเรียนหรือปัจจุบันกับผลการสอนในภาคเรียนหรือปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าผลการสอนของปัจจุบันดีกว่าปีที่ผ่านมา ผู้สอนก็ควรได้รับความชมเชย และได้รับการสนับสนุนให้ปรับปรุงตน เพื่อให้ดียิ่งขึ้นไปอีก แต่ถ้าผลต่ำกว่าที่ผ่านมาก็ควรให้ผู้สอนตรวจสอบให้ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด และทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้
                   อีกวิธีหนึ่งคือการเปรียบเทียบผลการสอนที่ทำติดต่อกันหลายๆ ครั้งโดยใช้ผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน ถ้าปรากฏว่าผลการสอบมีอัตราการสอบตกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็แสดงว่าผู้สอนไม่ได้แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการสอบในครั้งก่อนๆ แต่ถ้าผลออกมาในทางตรงกันข้ามก็แสดงว่าได้มีการนำเอาผลการสอบในครั้งก่อนๆ มาปรับปรุงการสอนของตน
                   วิธีการวิเคราะห์อีกวิธีหนึ่งคือการวิเคราะห์ให้ละเอียดลงไปว่าในจำนวนข้อสอบทั้งหมดนั้นผู้เรียนทำผิดข้อใดมากที่สุด และข้อใดที่ทำผิดลดหลั่นลงมา ผลการวิเคราะห์จะช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องใด และจากผลนี้ทำให้ตั้งสมมุติฐานได้ว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหา
                   นอกจากข้อมูลจากผลการสอบย่อยแล้ว ยังมีข้อมูลที่สามารถสรุปได้จากการประเมินผลและการวัดผลโดยวิธีอื่นๆ อีก เช่น การสังเกตพฤติกรรมและกิจกรรมในชั้นเรียน ระเบียบและรายงานการวัดเจตคติ ความเข้าใจ รวมทั้งผลจากการอภิปลายการสัมภาษณ์ และการศึกษารายกรณี ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์ และเมื่อนำมาวิเคราะห์จะช่วยให้ทราบว่าจุดอ่อนของหลักสูตรคืออะไรอย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสียเวลามาก
                   3. แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าความตกต่ำของคุณภาพหลักสูตรคือเรื่องอะไร และเกิดจากสาเหตุอะไรแล้วขั้นต่อไปของกระบวนการควบคุมคุณภาพก็คือการแก้ไข สำหรับการแก้ไขนี้อาจทำได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัญหาที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ ในบางกรณีอาจใช้วิธีปรับปรุงวิธีการสอนและแก้ไขหลักสูตรบางส่วน เช่น ตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระแก้ไขวิธีสอนโดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เล็กลง หรือให้มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตังเองมากขึ้น หรือร่นช่วงเวลาการทดสอบให้สั้นเข้า เพื่อให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลจากผลการสอบเร็วขึ้น
                   การแก้ไขอาจก้าวไกลออกไปถึงขั้นการอบรมผู้สอน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำหลักสูตรมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การที่จะอบรมอย่างไรและเรื่องอะไร ย่อมขึ้นอยู่กับปัญหาซึ่งพบจากการตรวจสอบในตอนต้น อย่างไรก็ตามการแก้ไขการพัฒนาหลักสูตรจะต้องติดตามดูผลอย่างใกล้ชิด การแก้ไขไม่จำเป็นต้องทีเดียวทั้งหมดแต่ควรใช้วิธีการทดลองกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนเมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วจึงค่อยนำเอายุทธศาสตร์และวิธีการนั้นมาใช้ในวงกว้างต่อไป