วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)และกิจกรม(Activity)

2.  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ 
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
          หลักสูตรสถานศึกษา  สถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้จึงต้องมีหลักสูตรเป็นของตนเอง คือหลักสูตรสถานศึกษาต้องครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านหลักสูตรสถานศึกษาจึงประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลเป็นประสบการณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียนซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา  หลักสูตรสถานศึกษา เป็นแบบแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการ ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกอย่างมีความสุข
          หลักสูตรท้องถิ่น คือ หลักสูตรที่ได้คิดค้น ประยุกต์ มาจากสภาพแวดล้อม ชุมชน ทรัพยากรรวมทั้งบุคลากรและความสนใจ ความสามารถของนักเรียน  กล่าวโดยสรุปหลักสูตรท้องถิ่น คือการจัดประสบการณ์การเรียนและเนื้อหาสาระให้กับผู้เรียนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงทางสังคมวัฒนธรรมและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและของท้องถิ่นนั้น ๆ 


กิจกรม(Activity)
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ     การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
          ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่จะนำมาใช้ดำเนินการ
การนำแนวคิดและรูปแบบจากพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.. 2542 ในมาตรา 27 วรรคสองที่กำหนดให้กำหนดให้
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของสาระของหลักสูตรที่สอดคล้อง
กับหลักสูตรแกนกลาง
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดขึ้นเป็นการพัฒนา
หลักสูตรครบวงจร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ
         การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้สามารถกำหนด
วัตถุประสงค์และขอบเขตในการเรียนการสอนรวมทั้งสิ่งที่คาดหวังให้ผู้เรียน
บรรลุตามจุดประสงค์
1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชน
          โรงเรียนมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ปลูกฝังเยาวชนในชุมชนให้เป็น
พลเมืองที่ดีเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมต่อไปจึงต้องทราบข้อมูลชุมชน
เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนนั้นๆ ข้อมูลของชุมชนที่สำคัญมีดังนี้
            1.ข้อมูลทั่วไปของชุมชน เช่นแผนที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา 
จำนวนประชากร เพศ อายุ ศาสนาฯลฯ
            2.ข้อมูลด้านการศึกษา จำนวนผู้จบการศึกษาในระดับต่างๆ 
จำนวนนักเรียนในระดับต่างๆ ฯลฯ
            3.ข้อมูลศิลปวัฒนธรรม เช่นภาษาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ
            4.ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่นรายได้ อาชีพ
            5.ภูมิปัญญาท้องถิ่น
            6.ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน เช่นยาเสพย์ติด มิจฉาชีพ โจร เป็นต้น
    วิธีการศึกษาชุมชน สามารถดำเนินการได้ดังนี้
            -ศึกษาแบบทุติยภูมิ (เอกสาร,งานวิจัย,สื่อสิ่งพิมพ์)
            -ศึกษาแบบปฐมภูมิ (สำรวจ,ลงพื้นที่,สอบถาม,สังเกต)
1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
            บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ และสื่อต่างๆ ห้องต่างๆ ปัญหาที่เกิด
จากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทาง
ในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสม
1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
1. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)ให้พิจารณาจาก
                    1.1 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                    1.2 จุดประสงค์ของรายวิชา (ความมุ่งหวังที่ต้องการ)
                    1.3 เนื้อหาสาระ (โครงสร้างหลักสูตร)
                    1.4 กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้
2. หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้พิจารณาจาก
                    2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
                    2.2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
                        -   กลุ่มสาระ
                        -    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                    2.3 การจัดการเรียนรู้
                    2.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
        3. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
                ปรับมาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
                    3.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
                -  กลุ่มสาระ (เท่าเดิม)
                - วิสัยทัศน์
                - พันธกิจ
                -  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                -  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                - กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                -กิจกรรมสาธารณประโยชน์
                3.2 การจัดการเรียนรู้
                3.3 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                ซึ่งสถานศึกษาควรนำข้อมูลทั้งสามอย่างนี้มาศึกษาและวิเคราะห์ 
ได้แก่ สภาพและความต้องการของชุมชนศักยภาพของโรงเรียน และหลักสูตรแกนกลาง
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร
                เป็นการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์หรือการกำหนดแนวทาง
การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ 
และทัศนคติตามเป้าหมายกำหนดไว้
2.1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
                จุดประสงค์ทั่วไป คือเป้าหมายหรือสิ่งมุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียน 
 ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและกระชับ และต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
จุดประสงค์การเรียนรู้ คือเป้าหมายที่มุ่งหวังจำแนกเรื่องและหัวข้อ เช่น 
ให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาเรียน ให้นักเรียนบอกความหมายของวิชาที่เรียนได้ เป็นต้น
2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ
                ควรกำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร
2.3 การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อต่างๆ
                ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน เนื้อหา จุดประสงค์ และหลากหลาย
เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการสอน หรือกระทั่งสื่อต่างๆ
2.4 การกำหนดวิธีและประเมินผลผู้เรียน
                ต้องรู้ถึงคุณภาพของหลักสูตรนั้นๆ จึงต้องมีการประเมินผลผู้เรียน 
เพื่อให้ทราบผมสัมฤทธิ์ของแผนการพัฒนาหลักสูตรอันจำเป็นต่อการพัฒนาในครั้งต่อๆไป
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
                เมื่อร่างหลักสูตรเสร็จ ต้องมีการตรวจสอบก่อนนำไปใช้ สิ่งสำคัญที่
ต้องพิจารณาคือ ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
                        -จุดประสงค์
                        -เนื้อหาสาระ
                        -การจัดการเรียนการสอน
                        -กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
                        -วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
               ทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยปรึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะจาก
        •  คณะทำงานร่างหลักสูตร
        •  ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
        •  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
                คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ต้องกำหนดวิธีการจัดการเรียน
        การสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 
        ประสานงาน เพื่อให้การสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการศึกษาตาม 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า 
การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และ
พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา 
 ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” 
และการเรียนรู้ หมายถึง การปรับเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น การสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 
(ตามนัยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ) มีดังนี้
1.การเรียนรู้โดยตนเอง คือการสร้างประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม วิทยาการ 
และโอกาส ให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ เกิดการคิด วิเคราะห์ ฝึกทักษะ ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือการเรียนรู้เพื่อให้ดำรงชีวิต
อยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ยังต้องเรียนรู้ตนเอง 
 สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมอันดีงาม 
 และยึดมั่นในคุณธรรม
3.  การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ คือ 
การเรียนรู้ในทักษะชีวิตที่สำคัญ ในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เช่นการสื่อสาร 
การสร้างสัมพันธภาพ การเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น รวมถึง ความรู้ด้านสุขศึกษา 
เช่น เพศศึกษา ยาเสพติด การแก้ไขปัญหาภายในครอบครัวอีกด้วย 
 ส่วนการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ก็คือการเข้าใจในศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัว
ในการประกอบอาชีพนั่นเอง
4. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ในการฝึกประสบการณ์และปฏิบัติ 
เพื่อผจญกับปัญหาจริง และสามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
5. การเรียนโดยผสมผสานความรู้ คือการเรียนความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับ
การพัฒนาจิตใจผู้เรียน
6.  การฝึกการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นประชาธิปไตย คือการเรียนรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
ความเสมอภาคหน้าที่และศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7. การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ 
ความตระหนัก และและมีความรัก ความหวงแหน ต่อคุณค่าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทย
8.  การวิจัยเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ คือการรวบรวมข้อมูล เพื่อการแก้ไข 
และเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแรงจูงใจ รวมถึงการประเมินคุณภาพ
9.  การเรียนรู้ด้วยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน คือการที่ครอบครัวชุมชน
และสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
10.การประเมินผู้เรียน คือ กระบวนการพิจารณาผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ 
โดยใช้เครื่องมือ เช่น การประเมินผลตามจริง แฟ้มผลงาน การสังเกต การสัมภาษณ์ 
การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
          การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 312-314) ได้เสนอวิธีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2 ลักษณะ คือ
          1. การประเมินหลักสูตรแกนกลางให้เข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลักสูตรในส่วนกลางและได้ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีมาตรฐานขั้นต่ำทางด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้กว้างขวางในระดับประเทศเช่นนี้จึงมีเนื้อหาสาระซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นอยู่บ้าง ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการปรับเนื้อหาของหลักสูตรบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่นได้
          2. การสร้างหลักสูตรย่อยในระดับท้องถิ่นขึ้นมาเสริมหลักสูตรแกนกลาง สำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
          กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
อุดม เชยกีวงศ์ (2545, หน้า 33-37) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้
          1. การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน เป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของชุมชนและผู้เรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างแท้จริง
          2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดความต้องการ
          3. การจัดทำผังหลักสูตร
          4. การเขียนแผนการสอน
                   4.1 การกำหนดหัวข้อเรื่อง
                   4.2 การเขียนสาระสำคัญ
                   4.3 การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
                   4.4 การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง
                   4.5 การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
                   4.6 การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
                   4.7 การกำหนดสื่อการเรียนการสอน
          5. การจัดการเรียนการสอน
          6. การประเมินผล
สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 314-315) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับท้องถิ่น ให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน ดังนี้
          ขั้นที่ 1 จัดตั้งคณะทำงาน
          ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐาน
          ขั้นที่ 3 กำหนดจุดมุ่งหมายสำหรับหลักสูตรท้องถิ่น
          ขั้นที่ 4 พิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรกลางกับสภาพของท้องถิ่น
          ขั้นที่ 5 ดำเนินการเลือกเนื้อหาสาระของหลักสูตร และ/หรือจัดสร้างรายวิชาขึ้นมาใหม่
          ขั้นที่ 6 ดำเนินการใช้หลักสูตร
          ขั้นที่ 7 ประเมินผลการใช้หลักสูตร
          ขั้นที่ 8 ทำการปรับปรุงแก้ไข
นอกจากนี้ นิรมล ศตวุฒิ (2543, หน้า 119-120) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามขั้นตอน ดังนี้   
          1. จัดตั้งคณะทำงาน
          2. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
          3. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
          4. เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
          5. กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
          6. ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้
          7. เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
          8. นำหลักสูตรไปใช้
          9. ประเมินหลักสูตร 

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

หลักสูตรท้องถิ่น


ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
          นักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่นไว้หลากหลายดังนี้ กรมวิชาการ (2545) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่นหมายถึง มวลประสบการณ์ที่จัดขึ้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณภาพการดำรงชีวิตโดยพยายามใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้บนพื้นฐานของสภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของตนเองตลอดจนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชาติบ้านเมือง ใจทิพย์เชื้อรัตนพงษ์ (2539) กล่าวว่า หลักสูตรระดับท้องถิ่นหมายถึงมวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและวิทย์วิธีทางการสอน(มสธ.) (มปป.) ให้ความหมายหลักสูตรท้องถิ่น หมายถึงเนื้อหาสาระและมวลประสบการณ์ที่จัดให้กับผู้เรียนในท้องถิ่นที่หนึ่งที่ใดโดยเฉพาะถ้าพิจารณาขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของหลักสูตรกลางและหลักสูตรท้องถิ่นจะพบว่ามีขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไปบ้างหลักสูตรท้องถิ่นแบ่งได้เป็น 2ลักษณะ คือ  หลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างขึ้นเพื่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อผู้เรียนในท้องถิ่นทุกวัย ทุกระดับอายุ เช่น หลักสูตรจักสาน หลักสูตรการทำของชำร่วยจากเปลือกหอยเป็นต้น หลักสูตรอีกประเภทหนึ่งเป็นหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเสริมหลักสูตรแกนกลางให้มีความสมบูรณ์ขึ้นหลักสูตรท้องถิ่นในลักษณะนี้จะใช้ร่วมกับหลักสูตรแกนกลาง โดยอาจจัดเป็นรายวิชาอิสระที่ให้เลือกเรียนหรือไม่อาจจัดเป็นรายวิชาแต่จัดเป็นกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ผู้สอนสามารถดัดแปลงเนื้อหาที่กำหนดมาจากส่วนกลางมาประยุกต์โดยนำเอาสาระทรัพยากร เทคนิควิธีการท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ได้ 
หลักสูตรท้องถิ่น
          คือหลักสูตรที่ได้คิดค้น ประยุกต์ มาจากสภาพแวดล้อม ชุมชน ทรัพยากรรวมทั้งบุคลากรและความสนใจ ความสามารถของนักเรียน
  กล่าวโดยสรุปหลักสูตรท้องถิ่น คือการจัดประสบการณ์การเรียนและเนื้อหาสาระให้กับผู้เรียนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงทางสังคมวัฒนธรรมและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและของท้องถิ่นนั้น ๆ  
ความเป็นมาของหลักสูตรท้องถิ่นการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม 
(Integratedlearning to the Unified Concept) 
          ในการจัดการศึกษาหรือการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ปรับปรุง พ.ศ. 2545 ได้กำหนดการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา โดยเฉพาะมาตรา 22 : หลักการจัดการศึกษา มาตรา 23 : สาระการเรียนรู้มาตรา 24 :กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการมีเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวมโดยผ่านการบูรณาการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล การเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวมเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลอมรวมเป้าหมายการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ สาระหรือประสบการณ์ทั้งภายในกลุ่มสาระหรือระหว่างกลุ่มสาระ อย่างกลมกลืนโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และพัฒนาผู้เรียนเป็นองค์รวม (ทุกด้าน)ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้ผ่านโครงงานและการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนที่สอดคล้องกับชีวิตจริง  นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542เป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติฉบับแรกที่เป็นเสมือนธรรมนูญการศึกษา  ที่กำหนดกรอบแนวคิด  ความมุ่งหมายและหลักการสิทธิหน้าที่ทางการศึกษา ระบบการศึกษา  แนวการจัดการศึกษา  การบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  ครู  คณาจารย์และบุคลากร  ทรัพยากรและการลงทุน เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไว้ถึง 9 หมวด 78 มาตรา  ที่ครอบคลุมการปฏิรูปการศึกษาไว้ครบทุกด้าน  โดยเฉพาะในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา  ตามความที่ปรากฏในมาตรา 27 กำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทยความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติ  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาโดยตรงที่จะต้องจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น  
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หลักการจัดการศึกษา แนวการจัดการศึกษา
          ซึ่งระบุไว้ในหมวด
 4 ได้แก่มาตรา 22,23 24,25, 26, 27, 28, 29, 30 ซึ่งแสดงแผนภูมิดังต่อไปนี้
ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น
          ถึงแม้ว่าจะมีหลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บทแล้วแต่ยังต้องมีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ทั้งนี้มีเหตุผลและความจำเป็นดังต่อไปนี้คือ
 (ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ 2539:109-110)
          1.1   หลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บทได้กำหนดจุดหมายเนื้อหาสาระ และกิจกรรมอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้คล้ายคลึงกัน ทำให้กระบวนการเรียนการสอนมุ่งเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่เป็นหลักการทั่ว ๆ ไปไม่สามารถประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสาระความรู้ตามสภาพแวดล้อม สังคม เศษฐกิจ ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นในแต่ละแห่งได้ทั้งหมด จึงต้องพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นให้มากที่สุด
          1.2  การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลกระทบโดยตรงต่อทรรศนะและการดำเนินชีวิตของคนไทยทั้งในเมืองและชนบท จึงต้องมีหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อปรับสภาพของผู้เรียนให้สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ดังกล่าวโดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภูมิลำเนาท้องถิ่นของตน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาตน ครอบครัว และท้องถิ่นตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นสุข
          1.3  การเรียนรู้ที่ดีควรจะเรียนรุ้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปยังสิ่งที่ไกลตัวเพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถดูดซับได้รวดเร็วกว่า ดังนั้นจึงควรมีหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงตามสภาพเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นตน แทนที่จะเรียนรู้เรื่องไกลตัว ซึ่งทำให้ผู้เรียนไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักชีวิต ไม่เข้าใจและไม่มีความรู้สึกที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง นอกจากนี้ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจะช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพัน รวมทั้งภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน
          1.4  ทรัพยากรท้องถิ่นโดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านในชนบทของไทยมีอยู่มากมายและมีค่าบ่งบอกถึงความเจริญมาเป็นเวลานาน หลักสูตรแม่บทหรือหลักสูตรแกนกลางไม่สามารถนำเอาทรัพยากรท้องถิ่นดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้ แต่หลักสูตรท้องถิ่นสามารถบูรณาการเอาทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งหลายมาใช้ในการเรียนการสอน ไม่ว่าด้านอาชีพ หัตถกรรม เกษตรกรรม ดนตรี การแสดงวรรณกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมีผลทำให้ผู้เรียนได้รู้จักท้องถิ่นของตน เกิดความรักความผูกพันกับท้องถิ่นของตน และสามารถใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในการประกอบอาชีพได้    
          ลักษณะ/รูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่น                           
หลักสูตรท้องถิ่น  มี  2  ลักษณะ/รูปแบบ  คือ                        
           เป็นหลักสูตรที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการสร้างอย่างเท่าเทียมกับครู  และนักวิชาการจากภายนอก  เนื้อหาสาระ  โครงสร้างการจัดเวลา  การจัดการและการบริหารหลักสูตรเป็นไปตามแนวคิดและหลักการทีชาวบ้านในท้องถิ่นให้ความสำคัญ  และเห็นว่าเป็นความจำเป็นที่สมาชิกของท้องถิ่นนั้นจะต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอด  ตลอดจนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นนั้น โดยเฉพาะมีการบูรณาการวัฒนธรรมท้องถิ่น ความเป็นท้องถิ่น  กระบวนการเรียนรู้ตามวิถีท้องถิ่นกับความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน  ชาวบ้านที่ร่วมสร้างหลักสูตรมีส่วนร่วมในการประเมินนักเรียน 
          เป็นหลักสูตรที่ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นรวมตัวกันเป็นเครือข่ายจากหลาย ๆ  องค์กรทั้งภาครัฐ  เอกชนและกลุ่มธุรกิจเพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน  หรือแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในชุมชน  เนื้อหาที่บรรจุในหลักสูตรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปัญญาชาวบ้านโดยตรง  เป็นสิ่งที่ชาวบ้านให้ความสำคัญ  และเป็นสิ่งที่ชาวบ้านลงความเห็นร่วมกันว่าสามารถช่วยให้ชุมชนพัฒนาตนเองได้โดยคงความเป็นเอกลักษณ์ของตนไว้  ชาวบ้านจัดสรรงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาและและดำเนินการเอง 
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น            
          ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไปบ้างตามแนวความคิดของนักการศึกษาและนักวิชาการ ดังนี้  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 (2544) กล่าวในขั้นตอนการจัดหลักสูตรไว้ดังนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษานำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานั้นกำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้จำนวนเวลาอย่างกว้าง ๆ มาตรฐานการเรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบ 12ปี และเมื่อจบการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นของสาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสถานศึกษาต้องนำโครงสร้างดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาโดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งนี้สถานศึกษาต้องจัดทำรายวิชาในแต่ละกลุ่มให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีขั้นตอนดังนี้  
ขั้นที่ 1 การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น          
ขั้นที่ 2 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน          
ขั้นที่ 3 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรระดับท้องถิ่น          
ขั้นที่ 4 การกำหนดเนื้อหา         
ขั้นที่ 5 การกำหนดกิจกรรม          
ขั้นที่ 6 การกำหนดคาบเวลาเรียน          
ขั้นที่ 7 การกำหนดเกณฑ์ การวัดและประเมินผล          
ขั้นที่ 8 การจัดทำเอกสารหลักสูตร         
ขั้นที่ 9 การตรวจสอบคุณภาพและการทดลองใช้หลักสูตร          
ขั้นที่ 10 การเสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร          
ขั้นที่ 11 การนำหลักสูตรไปใช้           
ขั้นที่ 12 การประเมินผลหลักสูตร 
          การปรับหลักสูตรให้เข้ากับสภาพสังคมของท้องถิ่นอาจจะดำเนินการในระดับเขตการศึกษาระดับจังหวัด ระดับอำเภอ หรือระดับโรงเรียนก็ได้ การดำเนินการทุกระดับหากจะให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอนควรมีลำดับขั้นดังนี้     
          ขั้นที่1  จัดทำคณะทำงานควรเลือกบุคคลที่มีความสามารถและมีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ          
          ขั้นที่2  ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐาน เพื่อจะได้ทราบข้อมูลที่แท้จริงภายในสังคม ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น          
          ขั้นที่3  กำหนดจุดมุ่งหมายสำหรับหลักสูตรท้องถิ่นว่าจะทำการพัฒนาโดยการปรับหลักสูตรกลางหรือสร้างหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นมาเสริมนั้นควรให้บรรลุเป้าหมายอะไรบ้าง          
          ขั้นที่4  ดำเนินการเลือกเนื้อหาสาระที่มีอยู่ในหลักสูตรกลางที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นและ/ หรือจัดสร้างกระบวนวิชาขึ้นมาใหม่          
          ขั้นที่5  ดำเนินการใช้หลักสูตรตามที่ได้ปรับขยายไว้แล้วโดยมีการนิเทศติดตามผลการใช้อย่างใกล้ชิด          
          ขั้นที่6  ประเมินผลการใช้หลักสูตร เป็นขั้นที่มีความสำคัญมากเพราะจะทำให้ทราบว่าหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นเหมาะสมหรือไม่อย่างไร          
          ขั้นที่7  ทำการปรับปรุงแก้ไขเป็นขั้นตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรว่าสมควรจะได้มีการปรับปรุงแก้ไข ตรงจุดไหนจึงจะทำให้หลักสูตรเหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาในสังคม ส่วนรวมและสังคมท้องถิ่นให้มากที่สุด 
แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรนั้นกรมวิชาการ (2545) ได้ให้แนวทางพัฒนาหลักสูตรเป็น 5ลักษณะ ดังนี้ 
          1.  การปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเสริม ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์ เนื้อหา คาบเวลาเรียน ของรายวิชาพื้นฐานนั้นเปลี่ยนไป
          2.  การปรับหรือเพิ่มรายละเอียดหัวข้อของเนื้อหา หมายถึง การปรับเนื้อหาด้วยการลดหรือเพิ่มปรับรายละเอียดของเนื้อหา โดยไม่ทำให้จุดประสงค์ คาบเวลาเรียน ของรายวิชาพื้นฐานนั้นเปลี่ยนไป          
          3.  การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน เป็นการเพิ่มเติม ตัดทอน สื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อความเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์ คาบเวลาเรียน ของรายวิชาพื้นฐานนั้นเปลี่ยนไป 
          4.  การจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ ทำได้โดยการจัดทำหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัด และเอกสารประกอบการเรียนการสอนขึ้นใช้ตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และสภาพท้องถิ่น    
          5.  การจัดทำคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติมขึ้นใหม่ เป็นการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นทั้งรายวิชาแต่ไม่ซ้ำซ้อนกับรายวิชาที่เป็นรายวิชาพื้นฐานโดยศึกษาทั้งหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำไว้แล้ว