วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร



          ข้อมูลต่างๆ ที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนั้น นักการศึกษาทั้งต่างประเทศ และนักการศึกษาไทย ได้แสดงแนวทางไว้ดังนี้
          เซย์เลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander ,1974:102-103) กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรว่า
              1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
              2. ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมซึ่งสนับสนุนโรงเรียน
              3. ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติ และลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
              4. ความรู้ที่ได้สะสมไว้และความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้แก่นักเรียน
          ทาบา (Taba, 1962: 16-87) ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้อง         คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
              1. สังคมและวัฒนธรรม
              2. ผู้เรียนและกระบวนการเรียน
              3. ธรรมชาติของความรู้
          ไทเลอร์ ( Tyler, 1949:1-43) กล่าวถึงสิ่งที่ควรพิจารณาในการสร้างจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ
              1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ซึ่งได้แก่ ความต้องการของผู้เรียน และความสนใจของผู้เรียน
              2. ข้อมูลจากการศึกษาชีวิตภายนอกโรงเรียน
              3. ข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
              4. ข้อมูลทางด้านปัญญา
              5. ข้อมูลทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
          จากการรายงานของคณะกรรมการวางพื้นฐานการปฏิรูปการศึกษา (2518:20-50) ได้กำหนดข้อมูลต่างๆ ในการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษา และในการจัดการศึกษาของประเภทดังนี้
              1. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
              2. สภาพแวดล้อมทางประชากร
              3. สภาพแวดล้อมทางสังคม
              4. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
              5. สภาพแวดล้อมทางการเมือง
              6. การปกครองและการบริหาร
              7. สภาพแวดล้อมทางศาสนาและวัฒนธรรม
              8. สภาพของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
          กาญจนา คุณารักษ์ ( 2521: 23-36 ) กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
              1. ตัวผู้เรียน
              2. สังคมและวัฒนธรรม
              3. ธรรมชาติและคุณสมบัติของการเรียนรู้
              4. การสะสมความรู้ที่เพียงพอและเป็นไปได้เพื่อการให้การศึกษา
          ธำรง บัวศรี (2532:4) กล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
              1. พื้นฐานทางปรัชญา
              2. พื้นฐานทางสังคม
              3. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
              4. พื้นฐานทางความรู้และวิทยาการ
              5. พื้นที่ทางเทคโนโลยี
              6. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
          สงัด อุทรานันท์ (2532 : 46) กล่าวถึงพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
              1. พื้นฐานทางปรัชญา
              2. ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม
              3. พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน
              4. พื้นฐานเกี่ยวทฤษฎีการเรียนรู้
              5. ธรรมชาติของความรู้
          สุมิตร คุณานุกร (2520 : 10) กล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรจำแนกตามแหล่งที่มาได้ 6 ประการ คือ
              1. ข้อมูลทางปรัชญา
              2. ข้อมูลที่ได้จากนักวิชาการแต่ละสาขา
              3. ข้อมูลที่ได้จากจิตวิทยาการเรียนรู้
              4. ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสังคมของผู้เรียน
              5. ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
              6. ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทางเทคโนโลยี
          สาโรช บัวศรี (2514 : 21-22) ได้กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐานหลัก 5 ประการ คือ
              1. พื้นฐานทางปรัชญา
              2. พื้นฐานทางจิตวิทยา
              3. พื้นฐานทางสังคม
              4. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
              5. พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี
          จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรมีมากมายหลายด้านสำหรับประเทศไทยควรจัดลำดับข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
              1. สังคมและวัฒนธรรม
              2. เศรษฐกิจ
              3. การเมืองการปกครอง
              4. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม
              5. พัฒนาการทางเทคโนโลยีสภาพสังคมในอนาคต
              6. บุคคลภายนอกและนักวิชาการแต่ละสาขา
              7. โรงเรียน ชุมชน หรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
              8. ประวัติศาสตร์การศึกษาและหลักสูตร
              9. ธรรมชาติของความรู้
              10. ปรัชญาการศึกษา
              11. จิตวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น