วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)และกิจกรรม (Activity)

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
1.  ทฤษฎีหลักสูตร  และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร  เหมือนหรือแต่งต่างกันอย่างไร
ตอบ     ทฤษฎีหลักสตูร
          การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร พบว่า มีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันและสามารถใช้แทนกันได้  ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – Improvement, และ Curriculum Revision มี ความหมายแตกต่างกันดังนี้   Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง  Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผน หลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร Curriculum Construction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิม หมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษา  Curriculum – Improvement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่า ที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะ นำไปสอน 
          โบแชมพ์ (
Beauchamp 1981:77) ได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎีการออกแบบหลักสูตรเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design Theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) 
1.  ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design Theories)  การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) หมายถึง การจัดแบ่งองค์ประกอบของ หลักสูตรได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ วิธีการจัดกิจกรรม จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ แนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล 
 2.  ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)  ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่ทำให้ ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียน ได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมิน ประสิทธิภาพหลักสูตร และการประเมินระบบหลักสูตร รูปแบบหลักสูตรที่มีคุณภาพที่สามารถสร้าง ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบ การสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนด หลักสูตรทฤษฎี หลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และ ระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การท าให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะน าไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
          สรุปได้ว่า  ทฤษฎีหลักสูตรก็คือแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร แบ่งออกเป็นทฤษฎีการ ออกแบบองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ วิธีการจัดกิจกรรม จุดมุ่งหมาย ทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผล ประเมินผล  และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร โรงเรียน ได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร โครงสร้าง ของหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร 
          ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
          ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้   Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่ คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง  Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร CurriculumConstruction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษาCurriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน
          ในกรณีที่มองหลักสูตรว่า เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่จะนำไปสอน ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรก็จะกล่าวถึงในการเลือกเนื้อหา การจัดการเนื้อหาลงในระดับชั้นต่างๆ เซเลอร์ (J. Galen Saylor)   กาและอเล็กซานเดอร์ (William M. Alexander) ได้สรุปสูตรทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตรแต่ละวิชาและเนื้อหาสาระดังนี้
1.  ใช้การพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดหรือตัดสินว่าจะสอนวิชาอะไร
2.  ใช้เกณฑ์บางอย่าง ในการเลือกเนื้อหาสำหรับกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
3.  วางแผนวิธีการสอนที่เหมาะสม และใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในเนื้อหาที่เลือกมาเรียน 
          1.ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
1.  มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่โรงเรียนควรแสวงหา
2.  มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นจะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3.  จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4.  จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร 4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1. การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ4. การประเมินผล
          2.ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
ได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา
ขั้นที่ 3 คัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยคัดเลือกมาให้เรียนโดยเฉพาะที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา
ขั้นที่ 5 คัดเลือกประสบการณ์การเรียน โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ เป็นแนวทาง
ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล เป็นขั้นที่จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่  และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยตรวจสอบตามแนวของคำถามที่มีลักษณะดังนี้
1.  เนื้อหาวิชาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หรือไม่
2.  ประสบการณ์การเรียนได้ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์หรือไม่
3.  ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด
          3.  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์
เคอร์ (John F. Kerr) เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร เรียกว่าเป็นOperational Model มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้มาจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่
1.  ระดับพัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
2.  สภาพปัญหา และความต้องการของสังคมที่นักเรียนต้องเผชิญ
3.  ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาและชนิดของการเรียนรู้
นำจุดมุ่งหมายมาคัดเลือกและจัดอันดับ โดยนำเอารูปแบบการจำแนกประเภทจุดประสงค์ทางการศึกษาของบลูม (Benjamin S. Bloom) และคณะ ที่แบ่งจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธวิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย มาช่วยในการพิจารณาจำแนกจุดประสงค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ขั้นต่อไป ได้แก่ การจัดประสบการณ์การเรียน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่จัดไว้แล้ว และในการจัดประสบการณ์การเรียนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น ความพร้อมของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน วิธีสอน เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ได้แก่ การประเมินผล ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น    เคอร์ได้ใช้ลูกศรโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรเป็นการเน้นว่า องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
          4.  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
1.  ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3  ขั้นตอน ย่อยๆ ได้แก่การเลือกจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
2.  ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไข
3.  ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุง แก้ไขระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
          5.  รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2519ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วย
          หลักของการพัฒนาหลักสูตร
จากรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร สรุปเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1.  ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ
2.  พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป็นต่างๆสังคม
3.  พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.  พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้
5.  ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ


กิจกรรม (Activity)
1.  สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง  นิยาม  ความหมาย : ทฤษฎี  ทฤษฎีหลักสูตร  ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ     ทฤษฎี ( theory)
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมาย
 "ทฤษฎี" ว่าหมายถึง ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยลักษณะที่คาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฎการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมีระเบียบ นอกจากนี้ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมาย ดังนี้
1.  Good : ทฤษฎี คือ ข้อสมมติต่าง ๆ(Assumption) หรือข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์ (Generalization) ซึ่งได้รับ
การสนับสนุนจากข้อสมมติทางปรัชญาและหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเสมือนพื้นฐานของการปฏิบัติ ข้อสมมติซึ่งมาจากการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบต่าง ๆ จะได้รับการประเมินผล เพื่อให้มีความเที่ยงตรงตามหลักวิทยาศาสตร์  และข้อสมมติทางปรัชญา อันถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสร้าง (Construction)
2.  Kneller : ได้ให้ความหมายของทฤษฎีไว้ ความหมาย คือ
          2.1 ข้อสมมติฐานต่าง ๆ (Hypothesis) ซึ่งได้กลั่นกรองแล้ว จากการสังเกตหรือทดลอง เช่น ในเรื่องความ
โน้มถ่วงของโลก
          2.2 ระบบขอความคิดต่าง ๆ ที่นำมาปะติดปะต่อกัน (Coherent)
3.  Feigl : ทฤษฎีเป็นข้อสมมติต่าง ๆ ซึ่งมาจากกระบวนการทางตรรกวิทยา และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิด  กฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกตและการทดลอง
4.  ธงชัย สันติวงษ์ : ทฤษฎี หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมแนวความคิดและหลักการต่าง ๆ ให้เป็นกลุ่มก้อนและสร้างเป็นทฤษฎีขึ้น ทฤษฎีใด ๆ ก็ตามที่ตั้งขึ้นมานั้น เพื่อรวบรวมหลักการและแนวความคิดประเภทเดียวกันเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่
5.  เมธี ปิลันธนานนท์ : ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักของทฤษฎี มี 3 ประการ คือ การพรรณนา (Description) การอธิบาย (Explanation) และการพยากรณ์ (Prediction)
          จากความหมายดังกล่าวข้างต้น ทฤษฎี จึงหมายถึง การกำหนดข้อสันนิษฐาน ซึ่งได้รับมาจากวิธีการทางตรรกวิทยา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกต ค้นคว้า และการทดลอง โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐานเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นจริงและนำผลที่เกิดขึ้นนั้นมาใช้เป็นหลักเกณฑ์


          ทฤษฎีหลักสูตร 
ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์
          - ความสำคัญของทฤษฎี

          ตามทัศนะของโบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 11) กล่าวว่า ความสำคัญของทฤษฎีจะช่วยให้เราเข้าใจ 3 ประการ ได้แก่ (1.) บอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ (2.) อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (3.) ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
          - การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
          โบแชมพ์ (
Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) 
1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories)
          การออกแบบหลักสูตร (
Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
             Zais (1976: 431-437) ได้สรุปการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร 2 แบบ คือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanisticdesign) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่า คนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทาง ได้แก่
            1.)
 ความมีเหตุผล (Rationalism) นำไปสู่ความจริง
    2.) การสังเกต (Empiricism) รับรู้ได้จากการมอง การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส
    3.) สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าว
    4.) อำนาจ (Authoritarianism) เช่น ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์บอกไว้
2.) ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
          ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (
Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตรและระบบหลักสูตร
          ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร
 
          ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
 


          ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร

มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “ การพัฒนาหลักสูตร ” ไว้ดังนี้
          สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า
“ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2ลักษณะ คือ
•  การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
•  การทำให้เกิดขึ้น
          ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
          ทาบา (
Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
          กู๊ด (
Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
          เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (
Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
          จากความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้สามารถอธิบาย สรุปความหมายของการพัฒนาหลักสูตรได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร (
Curriculum Development) หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น