วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนรู้

การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสู่การเรียนการสอน เป็นการนำคตินิยม ความเชื่อหรือหลักการพื้นฐานที่เกิดจากการสั่งสม
หรือสืบทอดกันมา หรือขนมธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและจริยธรรม ที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงามและความเป็นระเบียบ
แบบแผนที่เคยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระมาให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามขั้นตอนกิจกรรม
การเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบโรงเรียน มี 3 ลักษณะ คือ
1.คน
2.แนวคิดชาวบ้าน
3.ผลงานชาวบ้าน
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
1.การเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน
2.การนำนักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้หรือสถานประกอบการของภูมิปัญญาท้องถิ่น
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน โรงเรียน ครูผู้สอนหรือผู้ที่รับผิดชอบจะต้องศึกษา
และจัดทำรายละเอียด ข้อมูลในการจัดทำ โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1.ศึกษาหลักสูตรแม่บทหรือหลักสูตรแกนกลาง
2.จัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น
การนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
มีแนวทางดังนี้
1.ศึกษาหลักสูตร และสาระการเรียนรู้
2.จัดทำข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.จัดทำแผนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
4.ขอความร่วมมือกับชุมชนและตัววิทยากรท้องถิ่น
5.เชิญวิทยากรท้องถิ่นมาถ่ายทอดความรู้ หรือนำนักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้
6.ทำการวัด ประเมินผล
7.รายงานผล สรุปผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
ข้อดีในการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
1.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริง ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง
2.ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน
3.ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อชุมชน และกระบวนการเรียนรู้
4.ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
        5.ผู้เรียนเกิดความรักท้องถิ่นและเกิดความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าในท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น