ตาราง แสดงรูปแบบ/สาระของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เสนอ
|
รูปแบบ/สาระ
|
ไทเลอร์
|
หลักการและเหตุผลของการพัฒนาหลักสูตร
ต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่สำคัญ
4 ประการ คือ จุดมุ่งหมาย ประสบการณ์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และประเมินอย่างไรจึงจะทราบว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย
|
ทาบา
|
การพัฒนาหลักสูตรแบบรากหญ้า
(Grass-roots approach)
หลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่สูงขึ้น
โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 7 ขั้นตอน คือ
1. วิเคราะห์ความต้องการ
2.
กำหนดจุดมุ่งหมาย
3. คัดเลือกเนื้อหา
4. การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
5.
การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้
7.
กำหนดวิธีวัดและประเมินผล
|
เซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์
และเลวิส
|
การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ
4
ขั้นตอน คือ
1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2. การออกแบบหลักสูตร
3.
การนำหลักสูตรไปใช้
4. การประเมินผลหลักสูตร
|
โอลิวา
|
การพัฒนาหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 ขั้นตอน คือ
1. จุดหมายของการศึกษา
2.
ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน
3. เป้าหมายหลักสูตร
4. จุดประสงค์หลักสูตร
5. นำหลักสูตรไปใช้
6. เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับ
7.
จุดประสงค์การจัดการเรียนแต่ละรายวิชา 8. เลือกยุทธวิธีในการสอน
9.
เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนนำไปสอนจริง
10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง
11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
|
สกิลเบ็ก
|
การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นพลวัต
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1. การวิเคราะห์สถานการณ์
2. การกำหนดวัตถุประสงค์
3.
การออกแบบการจัดการเรียนการสอน
4. การนำหลักสูตรไปใช้
5.
การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร
|
วอล์คเกอร์
|
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดเชิงประจักษ์นิยม
ประกอบด้วยขั้นตอน
3
ขั้นตอน คือ
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การพิจารณาไตร่ตรอง
3.
การออกแบบหลักสูตร
|
กรมวิชาการ
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย
5 ขั้นตอน คือ
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร
3.
วางแผนและจัดทำหลักสูตร
4.
กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้
5. จัดทำแผนการสอน
|
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน
คือ
1. การวิเคราะห์หลักสูตร
แกนกลาง
2. การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน
3.
การเขียนแผนการสอน
4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การประเมินผลผู้เรียน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น