วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)และกิจกรม(Activity)


ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)

2.  หลักสูตรมีความสำคัญหรือความจำเป็นต่อการศึกษาหรือไม่
ตอบ
 หลักสูตรเปรียบเสมือนตัวแม่บทหรือหัวใจของการศึกษาที่ถือเป็นแก่นสำคัญในการวางแนวทางการจัดการศึกษา เป็นตัวกำหนดทิศทางของการศึกษาในการที่จะให้ความรู้ การเสริมสร้างเจตคติ ตลอดทั้งการฝึกฝนในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนารอบด้าน
           สุมน อมรวิวัฒน์ (2530:92) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนว่า หลักสูตรเป็นตัวกำหนจุดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ นั่นคือกำหนดจุดหมายปลายทางหรือลักษณะของผู้เรียนที่จะเป็นผลผลิตของการศึกษา อย่างไรก็ตามหลักสูตรจะถูกกำหนดโดยเป้าหมายทางการศึกษาอีกที่หนึ่ง
          อุทัย  บุญประเสริฐ (2531:179) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรเป็นธงชัยในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือสถานศึกษา เป็นแผนแม่บทกำกับการทำงานทุกด้านของโรงเรียน
          ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535:38-39)ให้แนวคิดว่า หลักสูตรเป็นหลักและหัวใจของการจัดการเรียนการสอน ทำให้การศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้และทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพ หลักสตรจึงเป็นเสมือนแบบแปลนสำหรับการเรียนการสอน
            อาจกล่าวได้ว่า หลักสูตรนั้นมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนโดยตรง จะแสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการสอนที่ต้องการมีอะไรบ้าง จะสอนอะไร เป็นต้น
            จากความสำคัญข้างต้น อาจสรุปความสำคัญของหลักสูตรได้ดังนี้
                1. หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ เนื่องจากผู้เรียนหรือประชาชน คือ ผลผลิตของการศึกษา ดังนั้น คุณภาพของประชาชนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรว่าต้องการให้ผู้ผ่านการศึกษามีคุณสมบัติอย่างไร
                2. หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การศึกษา เพราะหลักสูตรจะบอกให้ทราบว่าการจักการศึกษานั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นภาพรวมของการจัดการศึกษาของชาติว่ามุ่งทิศทางใด ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายกับการจัดการเรียนการสอยจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
                3. หลักสูตรเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติงานของครู  เพราะหลักสูตรจะบอกให้ครูรู้ว่าควรพัฒนาผู้เรียนด้านใด จะสอนด้วยเนื้อหาสาระอะไร และควรจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
                4. หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
                        4.1 มาตรฐานประการแรก  สถาบันการศึกษา หรือโรงเรียนจะต้องสอนให้ถึงมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดไว้ คือ สอนให้ครบตามหลักสูตรที่วางไว้
                        4.2 มาตรฐานประการที่สอง หมายความว่า  หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานให้ทุกสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นด้วนวัตถุประสงค์เดียวกัน ได้จัดการศึกษาที่เป็นแบบแผนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการจัดการเรียนการสอน
                5. หลักสูตรเป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญของประเทศ เนื่องจาการศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคน ดังนั้น ประเทศใดจัดหารศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย่อมได้กำลังคนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาสังคมและชาติเป็นไปอย่างได้ผลดียิ่งขึ้น


กิจกรม(Activity)
1.  สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนามนุษย์ การศึกษาการเรียนรู้และหลักสูตร
ตอบ
การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาและเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ได้รับการศึกษาจึงเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ การเรียนการสอนเป็นการพัฒนาคน ซึ่งไม่ใช่สิ่งทดลองหรือลองผิดลองถูก กระบวนการพัฒนาคนนั้นครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การออกแบบการสอนเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการสอน เพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยอาศัยระบบที่มีขั้นตอนพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
         
การศึกษา (Education) เป็นการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ ให้สามารถปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากงานเดิมได้ การศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนามนุษย์ ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากร การศึกษาเป็นการพัฒนาคนที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้
         
การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ กับการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้มีความหมายต่อการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคน ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวมนุษย์นั้น เป็นการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การศึกษาระยะยาว) ส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความหมายขึ้นกับกาลเทศะ หรือยุคสมัยมากกว่า คือเป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของยุคสมัยนั้น (การศึกษาระยะสั้น) เช่น เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านกำลังคนในสาขางานและกิจการต่าง ๆ ฉะนั้นเราจึงควรจัดการศึกษาทั้งสอง อย่างนี้ให้สัมพันธ์กัน เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้งสองส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตและสังคมมาก
          กู๊ด (Good,1973:157) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา (Dictionary of Education) ว่า หลักสูตรคือ กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรใบสาขาวิชาหลักต่างๆ เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา
          สุมิตร คุณานุกร (
2520,2-3) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ในสองระดับ คือหลักสูตรในระดับชาติและหลักสูตรในระดับโรงเรียน หลักสูตรระดับชาติหมายถึง โครงการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะ สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาที่กำหนดไว้ ส่วนหลักสูตรในระดับโรงเรียนหมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกโรงเรียนก็ตาม เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้



วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ความหมายการพัฒนาหลักสูตร


นางสาวทักษพร  สาริโก  รหัสนักศึกษา 613150710135  เลขที่ 10 ห้อง 1
จงหาความหมายของคำว่าการพัฒนาหลักสูตรของนักการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

           เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
            สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 10) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงกระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
             สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 92) ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตร (curriculum development) จะมีความหมายครอบคลุมถึงการสร้างหลักสูตรการวางแผนหลักสูตรการปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรให้ดีขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
              บุญมี เณรยอด (2531:18) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงโครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมและเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
              สงัด อุทรานันท์ (2532: 30) กล่าวคำว่า “การพัฒนา” หรือ คำในภาษาอังกฤษว่า “development”มีความหมายที่เด่นชัดอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก หมายถึง การทำให้ดีขึ้น หรือ ทำให้สมบูรณ์ขึ้น และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง ทำให้เกิดขึ้น โดยเหตุนี้ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรจึงอาจมีความหมายได้ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ความหมายแรก หมายถึง การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น และอีกความหมายหนึ่งก็ คือ เป็นการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย
             หัทยา เจียมศักดิ์ (2539: 12) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
            สวัสดิ์ จงกล (2539: 19) ได้ให้ความหมายว่าการพัฒนาหลักสูตร คือ การเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่างๆเพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
            เนตรชนก  ฤกษ์หร่าย (2552,น.45-46) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างหลักสูตรใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้เรียน พัฒนาให้ผู้เรียนมีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา รับผิดชอบตนเองและสังคมได้
             อรอนงค์  บุญแผน (2552,น.10) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การสร้างหลักสูตรใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการที่พัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีนั้นจะต้องมีการใช้จริง
แล้วผ่านกระบวนการประเมินหลักสูตรแล้วเห็นสมควรแล้วว่าจะต้องมีการปรับปรุง บางครั้งหลักสูตรที่ใช้อยู่อาจจะดีอยู่แล้วแต่ต้องการพัฒนาเพื่อไม่ให้หลักสูตรล้าหลัง
             ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร ”

สังเคราะห์ความหมายการพัฒนาหลักสูตรของทักษพร  สาริโก 
ทักษพร  สาริโก กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายความว่า การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนหลักสูตรอันเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม  หรือเป็นการสร้างหลักสูตรใหม่ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้น